Category Archives: กิจกรรม/การดำเนินงาน

มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา เข้าร่วมการนำเสนอระบบบริหารจัดการสมุนไพรเชิงพาณิชย์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เข้าร่วมการนำเสนอระบบบริหารจัดการสมุนไพรเชิงพาณิชย์ (Commercial Herbs Management Information System) ในวันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2566 จัดขึ้นที่ห้องประชุมแกรนด์ คอนเวนชั่น โรงแรม วาสิฏฐี ซิตี้โฮเทล จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.30 น.

การนำเสนอระบบโดย ผศ.วิชุณี สารสุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผู้รับฟังการบรรยาย เป็นกลุ่มของเกษตรกร เกษตรตำบล และเกษตรอำเภอ ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี

ได้รับเกียรติจากท่านผู้ว่าจังหวัดสุพรรณบุรี มาร่วมเปิดงาน มีคนในชุมชน และผู้สนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก บรรยากาศโดยรอบจะเป็นงานที่นำเสนอนวัตกรรมทางการเกษตร รวมทั้งมีกลุ่มชาวบ้านมาออกบูธเพื่อขายสินค้าทางการเกษตรด้วย

กิจกรรมที่ ๖ การติดตามและประเมินผลโครงการ

ปัจจุบันดําเนินการติดตามให้กิจกรรมต่างๆ ดําเนินการได้ตามระยะเวลาและแผน

กิจกรรมที่ ๕ อบรมเทคโนโลยีด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ช่องทางการจัดจําหน่าย

ผลการดําเนินงาน

1) เข้าพบแพทย์หญิงอัมพรเบญจพลพิทักษ์อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยเพื่อหารือแนว ทางการผลิตสมุนไพรให้ผ่านมาตรฐานอาหารและยา (อย.) ณ กรมแพทย์

กิจกรรมที่ ๔ ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าจากสมุนไพรพื้นบ้าน ผลการดําเนินงาน

๑) จัดประชุมคณะกรรมการดําเนินงานในแต่ละกิจกรรมย่อย เพื่อจัดทํากําหนดการจัดฝึกอบรม ดังนี้

  1. การแปรรูปสินค้าจากสมุนไพรพื้นบ้าน : น้ํายาบ้วนปากสมุนไพร ลูกประคบต้านอนุมูล อิสระ
  2. การแปรรูปสินค้าจากสมุนไพรพื้นบ้าน : โลชั่นตะไคร้ เพื่อสุขภาพ เทอราปี
  3. การแปรรูปสินค้าจากสมุนไพรพื้นบ้าน : ชีวภัณฑ์สมุนไพร เพื่อกําจัดแมลงศัตรูพืช
  4. การแปรรูปสินค้าจากสมุนไพรพื้นบ้าน : อาหารและขนม
  5. การแปรรูปสินค้าจากสมุนไพรพื้นบ้าน : เครื่องดื่มผสมเม็ดบีดส์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

กิจกรรมที่ ๓ จัดทําแปลงต้นแบบด้วยระบบเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะการปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้าน

ผลการดําเนินงาน 1) การลงพื้นที่สํารวจแปลง เพื่อศึกษาการใช้ระบบเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะในแปลงสมุนไพร ๑.๑ วิสาหกิจชุมชนสวนกล้วยอู่ทอง ตําบลจรเข้สามพัน อําเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ลงพื้นที่สํารวจระบบและแปลงปลูกการรดน้ําอัตโนมัติ ด้วยระบบ Timer

  1.2 ฟาร์ม แตะขอบฟ้า ตําบลปลายนา อําเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ลักษณะโรงเรือนแบบปิด ขนาด กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร สูง 4 เมตร

 
2) แปลงต้นแบบด้วยระบบเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ ณ ศูนย์การศึกษาอู่ทองทวารวดี อําเภอ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 2.1 ระบบเทคโนโลยี
  • โรงเรือนแบบปิด หลังคาจั่ว 2 ชั้น
  • ระบบติดตามและควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในโรงเรือน ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความชื้นของดิน ความเข้มของแสง โดยใช้แผงควบคุมเซนเซอร์ที่สามารถควบคุมสภาพ อากาศได้ทั้งระบบอัตโนมัติ ตั้งเวลาและกําหนดเองจากผู้ใช้ (user manual)
  • ระบบควบคุมการให้น้ําอัตโนมัติ ตามความต้องการของพืชสมุนไพร ระบบน้ํา หยดและพ่นหมอกในแบบอัตโนมัติ ตั้งเวลาและกําหนดเองจากผู้ใช้ (user manual)
  • แผงควบคุมเซนเซอร์ ได้แก่ เซนเซอร์วัดความชื้นของดิน เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ และเซนเซอร์วัดความเข้มของแสง
  • ซอฟต์แวร์ติดตามและควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในโรงเรือน
  • การแจ้งเตือนผ่าน application line หากโรงเรือนมีความผิดปกติ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความชื้นของดิน ความเข้มของแสง 2.2 สมุนไพรที่ใช้เป็นต้นแบบในแปลง – ฟ้าทะลายโจร หรือ กัญชง

กิจกรรมที่ ๒ ผลการดําเนินงาน จัดทําฐานข้อมูล เว็บไซต์ และ QR Code สมุนไพรพื้นบ้าน

1) ประสานงานหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีที่เกี่ยวข้องเช่นสาธารณสุขจังหวัด เกษตรจังหวัด เพื่อขอความอนุเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรในเบื้องต้น เพื่อ นํามาศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบหัวข้อที่ใช้ในการจัดทําฐานข้อมูล 2) จัดทําหัวข้อการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดทําฐานข้อมูลสมุนไพรดังนี้
  • หัวข้อที่ใช้จัดทําฐานข้อมูลสมุนไพรพื้นบ้าน

กิจกรรมการอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้านสู่สมุนไพรเชิงพาณิชย์

ระยะเวลาดําเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 – 30 กันยายน 2564

 

กิจกรรมที่ 1 การลงพื้นที่ สํารวจสถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ เก็บแบบสํารวจความต้องการ และส่งเสริม การปลูกสมุนไพร

ผลการดําเนินงาน

  1. แต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงานโครงการฯ ของมหาวิทยาลัย จากคณาจารย์ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นคณะกรรมการดําเนินงาน
  2. จัดประชุมคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้านสู่สมุนไพรเชิงพาณิชย์ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา อธิการบดี เป็นประธานในการ ประชุม
จัดประชุมคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้านสู่สมุนไพรเชิงพาณิชย์

3. จัดทําและเตรียมแบบฟอร์มข้อมูลสมุนไพร

4. ลงพื้นที่ในจังหวัดสุพรรณบุรีทั้งหมด ๑๐ อําเภอ เพื่อดําเนินการดังนี้
4.1 ประชาสัมพันธ์โครงการ
กิจกรรมการหารือและประชุม เพื่อการส่งเสริมการปลูกและให้ความรู้ด้านสมุนไพร การเกษตร จัดประชุมกิจกรรมการสร้างสื่อแอนิเมชัน (Animation) เกี่ยวกับการอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้าน

4.2 ดําเนินการสํารวจสถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ สํารวจความต้องการ สํารวจข้อมูลสมุนไพร และ ทดสอบความเหมาะสมพื้นที่ปลูกสมุนไพร

 

1) อําเภอสามชุก กลุ่มสมุนไพร ต.ย่านยาว

2) อําเภอเดิมบางนางบวชกลุ่มสมุนไพร ต.หัวเขา

3) อําเภอดอนเจดีย์กลุ่มสมุนไพรต.หนองสาหร่าย

4) อําเภออู่ทองอบต.พลับพลาไชยและกลุ่มสมุนไพรสวนยายสุขโคกหนองนา

5) อําเภอศรีประจันต์กลุ่มสมุนไพรต.ดอนปรู

6) อําเภอสองพี่น้องกลุ่มสมุนไพรอําเภอสองพี่น้อง

7) อําเภอเมืองสุพรรณบุรี กลุ่มสมุนไพร ต.สวนแตง

8) อําเภอด่านช้าง กลุ่มสมุนไพร อ.ด่านช้าง

9) อําเภอบางปลาม้าเกษตรอําเภอบางปลาม้า

10) อําเภอหนองหญ้าไซ กลุ่มสมุนไพรอําเภอหนองหญ้าไซ

ข้อเสนอแนะชนิดของพืชสมุนไพรที่เกษตรกรของจังหวัดสุพรรณบุรีควรปลูกในพื้นที่ และเป็น ตัวเลือกสําหรับการสนับสนุนพันธุ์พืชให้เกษตรกร