พญายอ

ชื่อสมุนไพรพญายอ
ชื่อวิทยาศาสตร์Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau.
ชื่อวงศ์ACANTHACEAE
ชื่อท้องถิ่นผักมันไก่, ผักลิ้นเขียดพญาปล้องคำโพะโซ่จางเสลดพังพอนตัวเมียพญาปล้องดำ, พญาปล้องทอง
ชื่อสามัญ
ข้อมูลพื้นทื่แปลงปลูก
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์
ไม้เถาล้มลุก มีลักษณะเป็นพุ่มแกมเลื้อยเถา มักจะเลื้อยพาดไปตามต้นไม้อื่นๆ ลำต้นหรือกิ่งก้าน เกลี้ยง เป็นข้อปล้อง ต้นอ่อนจะเป็นสีเขียว แตกกิ่งก้านดกทึบใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ลักษณะใบรูปใบหอกยาวแคบๆ ปลายใบยาวแหลม ไม่มีหนาม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียว ขนาดยาว 7-9 ซม. กว้าง 2-3 ซม. ก้านใบยาว 0.5 ซม.
ดอก ออกดอกเป็นกระจุกตรงปลายกิ่ง กลีบรองกลีบดอกสีเขียวยาวเท่าๆ กัน มีขนเป็นต่อมเหนียวๆ อยู่โดยรอบ กลีบดอกเป็นหลอด ยาว 3-4 ซม. ปลายแยกเป็น 2 กลีบ คือกลีบบนและกลีบล่าง สีแดงอมส้ม เกสรตัวผู้มี 2 เกสรตัวเมียเกลี้ยงไม่มีขนผล เป็นผลแห้ง ลักษณะรูปรี แตกออกได้ เมล็ดแบน
พืชวัตถุ (เลือก)
ข้อมูลลักษณะทาง พฤกษศาสตร์
สรรพคุณ
ถอนพิษ โดยเฉพาะพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ตะขาบ แมลงป่อง รักษาอาการอักเสบ งูสวัด ลมพิษ แผลน้ำร้อนลวกรสจืดเย็น นำมาสกัดทำทิงเจอร์และกรีเซอรีน ใช้รักษาแผลผิวหนังชนิดเริ่ม Herpes และรักษาแผลร้อนในในปาก Apthousดับพิษร้อน แก้แผลน้ำร้อนลวกรสจืดเย็น ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว ฝนทาแก้พิษงู ตะขาบ แมงป่องรสจืดเย็น แก้พิษงู พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้เริม แก้บิด ถอนพิษไข้ ไฟลามทุ่ง โขลกกับดินประสิวเล็กน้อยผสมเหล้าขาวคั้นเอาน้ำดื่มและเอากากพอก
ส่วนที่ใช้เป็นยา
ต้น ใบ ราก
ข้อมูลสรรพคุณ
https://www.samunpri.com/%E0%B8% 9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0% B8%87%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87